บริบทที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
การจัดทำแผนกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ประจำปี พ.ศ. 2563 – 2565 ได้นำบริบทที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการจัดการศึกษาและกฎหมาย นโยบายที่เกี่ยวข้องมากำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ดังนี้
กฎหมาย ระเบียบ แนวปฏิบัติและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการจัดการศึกษา
1.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ได้แก่ มาตรา ๕๔ ที่บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย รัฐต้องดำเนินการให้ เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษา ตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตและจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ กำกับ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อย ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติและการดำเนินการและตรวจสอบการดำเนินการ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย และการศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ ตามความถนัดของตนและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
1.2 ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ที่ใช้เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาประเทศในระยะ 20 ปี โดยกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและยุทธศาสตร์ ดังนี้
วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้วด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) มี 6 ยุทธศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความมั่นคง ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1.3 การรักษาความมั่นคงภายใน และความสงบเรียบร้อยภายใน ตลอดจนการบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2.5 การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านการขนส่ง ด้านพลังงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการวิจัยและพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน ได้แก่ยุทธศาสตร์ที่ 3.1 การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 3.2 การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพเท่าเทียม ทั่วถึง และยุทธศาสตร์ที่ 3.3 การปลูกฝังระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่พึงประสงค์
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสบนความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 4.1 การสร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 5.1 การจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ได้แก่ยุทธศาสตร์ที่ 6.1 การปรับปรุงโครงสร้าง บทบาท ภารกิจของหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสมและยุทธศาสตร์ที่ 6.4 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
1.3 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) สำหรับใช้เป็นแผนพัฒนาประเทศไทยในระยะ 5 ปี มียุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ เกี่ยวข้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ โดยมีเป้าหมายการพัฒนา ให้คนไทยส่วนใหญ่มีทัศนคติและพฤติกรรมตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคมเพิ่มขึ้นคนในสังคมไทยทุกช่วงวัยมีทักษะ ความรู้ ความสามารถเพิ่มขึ้น และคนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพสูง ตามมาตรฐานสากล สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทยและยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
1.4 นโยบายรัฐบาล (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี)
นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรัฐบาลต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 มีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้
8. การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย
8.1 ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย
8.1.1 จัดให้มีระบบพัฒนาเด็กแรกเกิดอย่างต่อเนื่องจนถึงเด็กวัยเรียนให้มีโอกาส พัฒนาตามศักยภาพ เพื่อสร้างคนไทยที่มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพผ่านครอบครัวที่อบอุ่นในทุกรูปแบบครอบครัว เพื่อส่งต่อการพัฒนาเด็กไทยให้มีคุณภาพสู่การพัฒนาในระยะถัดไปบนฐานการให้ความช่วยเหลือที่คำนึงถึงศักยภาพของครอบครัวและพื้นที่ เตรียมความพร้อมการเป็นพ่อแม่ ความรู้เรื่องโภชนาการและสุขภาพการอบรมเลี้ยงดู การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยผ่านการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศให้ได้มาตรฐาน และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาและผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ
8.1.2 ส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยคำนึงถึงพหุปัญญาที่หลากหลายของเด็ก แต่ละคนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ ผ่านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบโรงเรียนปกติที่เป็นระบบและมีทิศทางที่ชัดเจน
8.2 พัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่
8.2.1 ปรับรูปแบบการเรียนรู้และการสอนเพื่อพัฒนาทักษะและอาชีพของคนทุก ช่วงวัยสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยปรับโครงสร้างหลักสูตรการศึกษาให้ทันสมัย มีการนำเทคโนโลยีและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงเข้ามามีส่วนในการจัดการเรียนการสอน และปรับระบบดึงดูดการคัดเลือก การผลิตและพัฒนาครู ที่นำไปสู่การมีครูสมรรถนะสูงเป็นครูยุคใหม่ที่สามารถออกแบบและจัดระบบการสร้างความรู้ สร้างวินัย กระตุ้น และสร้างแรงบันดาลใจ เปิดโลกทัศน์มุมมองของเด็กและครูด้วยการสอนในเชิงแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้นควบคู่กับหลักการทางวิชาการ
8.2.2 จัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนทั้งในส่วนฐานความรู้และระบบความคิดในลักษณะสหวิทยาการ และตรงกับความต้องการของประเทศ ในอนาคต และเป็นผู้เรียนที่สามารถปฏิบัติได้จริงและสามารถกำกับการเรียนรู้ของตนเองได้ รวมถึงมีทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาที่สามที่สามารถสื่อสารและแสวงหาความรู้ได้ มีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
นโยบายด้านการศึกษาระดับชาติและระดับกระทรวงศึกษาธิการ
2.1 แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 เพื่อใช้เป็นแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของประเทศ ได้นำไปใช้เป็น กรอบและแนวทางการพัฒนาการศึกษาและเรียนรู้สำหรับพลเมือง ทุกช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
วิสัยทัศน์ : คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเปลี่ยนแปลงของโลกศตวรรษที่ 21
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
- เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ
- เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณธรรมจริยธรรม รู้จักสามัคคี และร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อนำประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง
ยุทธศาสตร์
- การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
- การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
- การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
- การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
- การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา
2.2 นโยบายและจุดเน้น กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
หลักการ
- ให้ความสําคัญกับประเด็นคุณภาพและประสิทธิภาพในทุกมิติ ทั้งผู้เรียน ครูและ บุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการพลเรือน และผู้บริหารทุกระดับ ตลอดจนสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท และเป็นการศึกษาตลอดชีวิต
- บูรณาการการทํางานร่วมกันระหว่างส่วนราชการหลัก องค์การมหาชนในกํากับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการให้มีความคล่องตัว รวมทั้งหน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในพื้นที่ภูมิภาคให้สามารถปฏิบัติงานร่วมกันได้ เพื่อดําเนินการปฏิรูปการศึกษาร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตามนโยบายประชารัฐ
ระดับก่อนอนุบาล
เน้นประสานงานกับส่วนราชการ และชุมชน ในการเตรียมความพร้อมผู้เรียบ ในด้านสุขภาพและโภชนาการ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับระบบโรงเรียนปกติ
ระดับอนุบาล
เน้นสร้างความร่วมมือกับพ่อแม่ผู้ปกครอง และชุมชน เพื่อออกแบบกิจกรรมการพัฒนา ทักษะที่สําคัญด้านต่างๆ เช่น ทักษะทางสมอง ทักษะความคิดความจํา ทักษะการควบคุมอารมณ์ ทักษะการรู้จักและประเมินตนเอง
ระดับประถมศึกษา
มุ่งคํานึงถึงพหุปัญญาของผู้เรียนรายบุคคลที่หลากหลายตามศักยภาพ ด้วยจุดเน้น ดังนี้
- ปลูกฝังความมีระเบียบวินัย ทัศนคติที่ถูกต้อง โดยใช้กระบวนการลูกเสือ และยุวกาชาด
- เรียนภาษาไทย เน้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่น
- เรียนภาษาอังกฤษ ภาษาพื้นถิ่น ภาษาแม่ เน้นเพื่อการสื่อสาร
- เรียนรู้ด้วยวิธีการ Active Learning เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการเรียนรู้ จากประสบการณ์จริงหรือจากสถานการณ์จําลองผ่านการลงมือปฏิบัติ และเปิดโลกทัศน์มุมมองรวมกันของผู้เรียนและครูด้วยการจัดการเรียนการสอนในเพิ่งแสดงความคิดเห็นให้มากขึ้น
- สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้และใช้ดิจิทัลเป็นเรื่องที่อการเรียนรู้
- 6. จัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะการคิดแบบมีเหตุผลและเป็นขั้นตอน (Coding)
- พัฒนาครูให้มีความชํานาญในการสอนภาษาอังกฤษและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding)
- จัดให้มีโครงการ 1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ โดยเน้นปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกบริเวณโรงเรียนให้เอื้อต่อการสร้างคุณธรรมจริยธรรมและจิตสาธารณะ
ระดับมัธยมศึกษา
มุ่งต่อยอดระดับประถมศึกษา ด้วยจุดเน้น ดังนี้
- จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์(STEM)การต่างประเทศ (ภาษาที่สาม)
- จัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อสร้างทักษะพื้นฐานที่เชื่อมโยงสู่การสร้างอาชีพ และการมีงานทํา เช่น ทักษะด้านกีฬาที่สามารถพัฒนาไปสู่นักกีฬาอาชีพ ทักษะภาษาเพื่อเป็นมัคคุเทศก์
การขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ
- ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ต้องปรับปรุงแผนปฏิบัติราชการ ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และวางแผนการใช้งบประมาณเป็นรายไตรมาส รวมทั้งใช้จ่าย งบประมาณให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
2 จัดทําฐานข้อมูล(Data) ของกระทรวงศึกษาธิการให้ครบถ้วน ถูกต้อง ทันสมัย
- ใช้เทคโนยีและดิจิทัลในเครื่องมือในการพัฒนางานทั้งระบบเน้นการเรียนรู้และ การบริหารจัดการ
- ปรับปรุงโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการให้เกิดความคล่องตัว หากติดขัดในเรื่องข้อกฎหมาย ให้ผู้บริหารระดับสูงร่วมหาแนวทางการแก้ใขร่วมกัน
- ให้หน่วยงานระดับกรม กำหนดในงานสนับสนุนทรัพยากร งบประมาณ อัตรากําลังตามความต้องการจําเป็นให้หน่วยงานในพื้นที่ภูมิภาค
- ใช้กลไกกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษามาบูรณาการการดําเนินงานร่วมกับ หน่วยจัดการศึกษา
- เร่งทบทวน (ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. โดยปรับปรุงสาระสําคัญให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล
- ในระดับพื้นที่หากเกิดปัญหาข้อติดขัดการปฏิบัติงาน ต้องศึกษา ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เช่น จำนวนเด็กในพื้นที่น้อยลง ซึ่งจําเป็นต้องมีการควบรวมโรงเรียน ให้พิจารณาสื่อสาร อธิบายทําความเข้าใจที่ชัดเจนกับชุมชน
- วางแผนการใช้อัตรากําลังครู โดยเฉพาะครูระดับอนุบาล และครูระดับอาชีวศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ และจัดทําการประเมินครูอย่างเป็นระบบ รวมทั้งจัดทําหลักสูตรการพัฒนาครูให้มีองค์ความรู้และทักษะในด้านพหุปัญญาของผู้เรียน
- ให้ศึกษาธิการจังหวัดจัดทําแผนการจัดการศึกษาของแต่ละจังหวัด นําเสนอต่อคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
- ให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และศึกษาธิการภาค มีบทบาทหน้าที่ ตรวจราชการ ติดตาม ประเมินผลในระดับนโยบายและจัดทํารายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ
2.3 นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ดังนี้
วิสัยทัศน์ สร้างคุณภาพทุนมนุษย์ สู่สังคมอนาคตที่ยั่งยืน
พันธกิจ
- จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถความเป็นเลิศทางวิชาการเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
- พัฒนาศักยภาพและคุณภาพผู้เรียนให้มีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21
- สร้างโอกาส ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ให้ผู้เรียนทุกคนได้รับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
- พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นมืออาชีพ
- จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
- ปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ และจัดการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อพัฒนามุ่งสู่ Thailand 4.0
เป้าประสงค์
- ผู้เรียนมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง และเป็นพลเมืองดี ของชาติ มีคุณธรรม จริยธรรม มีค่านิยมที่พึงประสงค์ มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น ซื่อสัตย์ สุจริต มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม
- ผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี กีฬา ภาษา และอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ
- ผู้เรียน เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม มีความรู้
มีทักษะ มีสมรรถนะตามหลักสูตร และคุณลักษณะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ มีสุขภาวะที่เหมาะสมตามวัย มีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมืองพลโลกที่ดี (Global Citizen) พร้อมก้าวสู่สากล นำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ - ผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (ผู้พิการ) กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และมีคุณภาพ
- ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ มีความรู้และจรรยาบรรณตามมาตรฐานวิชาชีพ
- สถานศึกษาจัดการศึกษาเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา มีสมดุลในการบริหารจัดการเชิงบูรณาการ มีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล มีระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และการรายงานผลอย่างเป็นระบบ ใช้งานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษา
นโยบาย
นโยบายที่ 1 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของมนุษย์และของชาติ
นโยบายที่ 2 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
นโยบายที่ 3 ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
นโยบายที่ 4 ด้านการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการศึกษาที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
นโยบายที่ 5 ด้านการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นโยบายที่ 6 ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงราย และแผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2562-2565) จังหวัดเชียงราย
3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเชียงราย
วิสัยทัศน์จังหวัดเชียงราย (Vision)
“เมืองแห่งการค้า การลงทุน การเกษตร และการท่องเที่ยวรุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรมล้านนา ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข”
เป้าประสงค์รวม
- เพื่อสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้า การลงทุน บริการโลจิสติกส์ การเกษตรการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมเชื่อมโยงกลุ่มจังหวัด กลุ่มอาเซียน + 6 และ GMS
- เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางหลักในการสร้างภูมิคุ้มกันในการสร้างคน สังคมที่มีคุณภาพ
- เพื่อสร้างสมดุลของระบบนิเวศและการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ เพื่อให้ประชาชนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีคุณภาพ
- เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ปกติและแนวชายแดน
ประเด็นยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าการลงทุนและบริการโลจิสติกส์เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดกลุ่มอาเซียน+6 และ GMS
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรคุณภาพมาตรฐานสากลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การดำรงฐานวัฒนธรรมล้านนาเพื่อเพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเชิงนิเวศและเชิงสุขภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพชีวิตเพื่อให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดำรงความสมบูรณ์และยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 6 การรักษาความมั่นคง และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
3.2 แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2562 – 2565) จังหวัดเชียงราย
แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2562 – 2565) จังหวัดเชียงราย มีทิศทางการพัฒนาการศึกษาของจังหวัดเชียงราย ดังต่อไปนี้
วิสัยทัศน์ เชียงรายเมืองแห่งคุณภาพการศึกษา พัฒนาสู่สากล* บนพื้นฐานวัฒนธรรมล้านนา มวลประชาอยู่เย็นเป็นสุข
สากล* หมายถึง การพัฒนาสู่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประชาคมอาเซียน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Sub region (GMS)) และประชาคมโลก
พันธกิจ
- จัดการศึกษาได้ตามมาตรฐานการศึกษาของแต่ละประเภทสถานศึกษา
- จัดการศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนเต็มศักยภาพของบุคคล
- จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านภาษา
- จัดการศึกษาอาชีพมีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย และกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)
- ส่งเสริมการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- จัดการศึกษาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง และยั่งยืน
- สร้างผลงานวิจัยที่มีคุณค่า สนับสนุนการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัยสู่สังคมและเชิงพาณิชย์
เป้าประสงค์หลัก
- คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติ และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- คนทุกช่วงวัยในเขตพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
- ผู้เรียนที่จบการศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละประเภทสถานศึกษาสามารถศึกษาต่อและประกอบอาชีพตามความต้องการ
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ตามความต้องการอย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิตเต็มศักยภาพของบุคคล
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาด้านภาษาที่มีคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมาย เต็มศักยภาพของบุคคล
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนามีสมรรถนะ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย และตรงกับความต้องการกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (GMS)
- ผู้เรียนมีทักษะชีวิต คุณภาพชีวิต สอดคล้องกับวัฒนธรรม ประเพณีล้านนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ผู้เรียนนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นหลักการในการดำรงชีวิตในสังคม
- สถาบันครอบครัว มีความเข้มแข็งและยั่งยืน อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
- ภาคีเครือข่าย ชุมชนมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา
- หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ และนำผลงานวิจัยไปยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
- ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
ประเด็นยุทธศาสตร์
แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2562-2565) จังหวัดเชียงราย ได้กำหนดยุทธศาสตร์ดังต่อไปนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัย และนวัตกรรม เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการศึกษา